Supreme Artist : His Majesty King Bhumibol Adulyadej อัครศิลปิน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Supreme Artist Music

Supreme Artist Music
Supreme Artist Literature

พระราชานุกิจ
พระราชานุกิจ Rachanukit
ชื่อเรื่อง   พระราชานุกิจ
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๙
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ “เรื่องพระราชานุกิจ” เมื่อประมาณพุทธ ศักราช ๒๔๘๘ – ๒๔๘๙ โดยทรงบันทึกพระราชกิจประจำวันของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ คราวเสด็จนิวัตพระนคร พุทธศักราช ๒๔๘๘

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล ๑๐๐ วัน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙
   

เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์
เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์
ชื่อเรื่อง   เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๙
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๔๙๐
ทรงพระราชนิพนธ์บันทึกพระราชกิจประจำวันในช่วงวันที่ ๑๖ - ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินจากสยามไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ตีพิมพ์ในหนังสือ “วงวรรณคดี” และพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงจำรัส สวัสดิกุล ชายาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ และ หม่อมเจ้าหญิง ละม้าย สนิทวงศ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐
   

นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
ชื่อเรื่อง   นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   พุทธศักราช ๒๕๒๐ – ๒๕๒๓
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๕๓๖
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาประมาณ ๓ ปี ระหว่าง ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ในเวลาว่างวันละเล็กละน้อยทรงแปลเรื่อง “นายอินทร์ ผู้ปิดทอง หลังพระ” จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “A Man Called Intrepid” ซึ่งแต่งโดย William Stevenson และทรงพระราชทานเอกสารเรื่องนี้แก่ผู้ทรงรู้จักคุ้นเคย

พุทธศักราช ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์และ จำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา
   

ติโต
ติโต Tito
ชื่อเรื่อง   ติโต
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   พุทธศักราช ๒๕๑๙
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๕๓๗
พุทธศักราช ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลเรื่อง “ติโต” จากต้นฉบับภาษา อังกฤษ “Tito” ของ Phyllis Auty ฉบับพิมพ์ครั้งแรก เดือนกุมภาพันธ์ คริสต์ศักราช ๑๙๗๒ (พุทธศักราช ๒๕๑๕) เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบเรื่องราวของ “ติโต” อัจฉริยบุคคลที่ น่าสนใจคนหนึ่งของโลก

“ติโต” เป็นผู้ทำให้ประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่แตกต่างกันทั้งด้าน เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ให้กลับมารวมกันเป็นปึกแผ่นในยามวิกฤต สามารถรักษาความสมบูรณ์ และเพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของเขา พุทธศักราช ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์และ จัดจำหน่าย เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา
   

พระมหาชนก
พระมหาชนก
ชื่อเรื่อง   พระมหาชนก
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๙
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๔๘๙
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับพระธรรมเทศนาของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโรมหาเถร) วัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนกเสด็จ ทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา ทรงพระราชดำริว่าพระมหาชนกชาดกมีคติที่ แจ่มแจ้งและน่าจะเป็นประโยชน์แก่ชนทุกหมู่ ทรงสนพระราชหฤทัยจึงทรงค้นเรื่อง พระมหาชนกในพระไตรปิฎก ตามที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒ และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ

พุทธศักราช ๒๕๓๑ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเสร็จสมบูรณ์ โดยทรงดัดแปลงเนื้อเรื่องให้ ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยที่พระราชดำริว่าพระมหาชนกจะบรรลุ โมกขธรรมได้ง่ายกว่า หากได้ประกอบพระราชกรณียกิจในโลกให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน

มีพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์พระมหาชนก ในวาระโอกาส ดังนี้

พุทธศักราช ๒๕๓๙ ในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พิมพ์เป็นหนังสือปกแข็ง จำหน่ายพร้อมเหรียญพระมหาชนก เนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาพประกอบ ส่วนหนึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์ประดิษฐ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น อักษรเทวนาครี และภาพแผนที่ พร้อมภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัยของศิลปินไทย ๘ คน คือ ประหยัด พงษ์ดำ พิชัย นิรันด์ ปรีชา เถาทอง เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ปัญญา วิจินธนสาร ธีระวัฒน์ คะนะมะ จินตนา เปี่ยมศิริ และเนติกร ชินโย โดยมี พิษณุ ศุภนิมิตร เป็นผู้ประสานงานและออกแบบรูปเล่ม

พุทธศักราช ๒๕๔๐ พิมพ์พระมหาชนกฉบับปกอ่อน เนื้อหาและรูปแบบเหมือนฉบับปกแข็ง หากย่อส่วนลง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำเฉพาะหนังสือเท่านั้น ไม่มีเหรียญพระมหาชนก
   

พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน
พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน
ชื่อเรื่อง   พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน / The Story of Mahajanaka, Cartoon Version
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   พุทธศักราช ๒๕๓๑
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๕๔๒
พิมพ์ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ด้วย พระราชประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั้งผู้ใหญ่และเด็กอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ ชัย ราชวัตร เป็นผู้เขียนภาพการ์ตูน พร้อมคำบรรยาย ๒ ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ด้วยกระดาษไทยเพื่อความประหยัด ในราคาย่อมเยา

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พิมพ์ พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน (สี่สี)
   

ทองแดง
ทองแดง /The Story of Tongdaeng
ชื่อเรื่อง   ทองแดง /The Story of Tongdaeng
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   ประมาณพุทธศักราช ๒๕๔๕
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๕๔๕
พระราชนิพนธ์เรื่องราวและประวัติความเป็นมาของทองแดง สุนัขที่ทรงเก็บมาเลี้ยง ตั้งแต่ก่อนเข้าเฝ้าถวายตัว ความประพฤติ และลักษณะนิสัยของทองแดง ความกตัญญู รู้คุณ และความซื่อสัตย์

ภายในหนังสือจะมีพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายกับทองแดงและครอบครัว ประกอบ คำบรรยาย ๒ ภาษา (ไทย-อังกฤษ) เป็นที่นิยมอย่างมาก
   

ทองแดง ฉบับการ์ตูน
ทองแดง ฉบับการ์ตูน / The Story of Tongdaeng, Cartoon Version
ชื่อเรื่อง   ทองแดง ฉบับการ์ตูน / The Story of Tongdaeng, Cartoon Version
ปีที่ทรงพระราชนิพนธ์   ประมาณพุทธศักราช ๒๕๔๕
ปีที่จัดพิมพ์ครั้งแรก   พุทธศักราช ๒๕๔๗
หนังสือการ์ตูน พิมพ์สี่สี ลายเส้นการ์ตูน โดย ชัย ราชวัตร และคณะทำงาน สร้างสรรค์ตามแนวพระราชดำริ ผู้วาดภาพการ์ตูน ได้มีโอกาสไปชมสถานที่ตามเหตุการณ์จริง และเพิ่มภาพหลายภาพที่ไม่มีในเล่มเดิม ทำให้เห็นข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับทองแดง และสุนัขทรงเลี้ยงอื่นๆ
   

arrow up กลับสู่ด้านบน

Rama IX Art Museum